เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 9. อกุสลมูลสูตร

บุคคลเช่นนี้เรียกว่า อกาลวาที(กล่าวไม่ถูกเวลา)บ้าง อภูตวาที(กล่าวเรื่องไม่
จริง)บ้าง อนัตถวาที(กล่าวไม่อิงอรรถ)บ้าง อธัมมวาที(กล่าวไม่อิงธรรม)บ้าง
อวินยวาที(กล่าวไม่อิงวินัย)บ้าง
เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง อนัตถวาที
บ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง
เพราะบุคคลนี้ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียด
เบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรง
พลัง”บ้าง เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ เมื่อถูกว่า
กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง กลับไม่พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้
เรื่องนี้จึงไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง
อนัตถวาทีบ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน
ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วย่อมหวังได้ทุคติ1
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ
ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ
เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อที่ถูกเถาย่านทราย 3 ชนิด2
คลุมยอด พันรอบต้น ย่อมถึงความเสื่อม ถึงความพินาศ ถึงความฉิบหายฉันใด
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล
ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน
ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 9. อกุสลมูลสูตร

บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ
ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล 3 ประการนี้แล
กุศลมูล(รากเหง้าแห่งกุศล) 3 ประการนี้
กุศลมูล 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กุศลมูล คือ อโลภะ(ความไม่อยากได้)
2. กุศลมูล คือ อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย)
3. กุศลมูล คือ อโมหะ(ความไม่หลง)
อโลภะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโลภะ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโลภะ
กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ
ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็น
กุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มี
อโลภะเป็นแดนเกิด มีอโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโลภะนั้นด้วย
ประการฉะนี้
อโทสะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโทสะ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน
จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง”
ก็จัดเป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ
มีอโทสะเป็นแดนเกิด มีอโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโทสะนั้นด้วย
ประการฉะนี้
อโมหะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโมหะ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :277 }