เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 6. สาฬหสูตร

6. สาฬหสูตร
ว่าด้วยนายสาฬหะถามถึงหลักความเชื่อ

[67] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะผู้เป็นหลานชายของมิคารเศรษฐี
และนายโรหนะผู้เป็นหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี เข้าไปหาท่านพระนันทกะถึง
ที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับสาฬหมิคารนัดดาดังนี้ว่า
มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่
บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่าน
ทั้งหลายควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย
สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะมีอยู่หรือ
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อภิชฌา” บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้
ของเขานี้ เป็นผู้โลภ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูด
เท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :264 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 6. สาฬหสูตร

“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “พยาบาท” บุคคลผู้มีจิตพยาบาท
(ความคิดร้าย)นี้เป็นผู้คิดร้าย ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อวิชชา” บุคคลผู้ตกอยู่ในอวิชชา
(ความไม่รู้แจ้ง)นี้เป็นผู้หลง ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น
กุศลหรืออกุศล”
“เป็นอกุศล ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่มีโทษ ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน ท่านผู้เจริญ”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลาย มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :265 }