เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 5. เกสปุตติสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามะทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า
มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้
เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติ
บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ
(ธรรมเหล่านั้น)เสีย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น มาเถิด
กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :259 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 5. เกสปุตติสูตร

กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้
เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือ
ปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้า
ถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่
กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะ(ความไม่
อยากได้) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโลภะนี้ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โลภะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะ(ความไม่คิด
ประทุษร้าย) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโทสะนี้ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะ(ความไม่
หลง) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโมหะนี้ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โมหะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :260 }