เมนู

พระสุตตัตนตปิฎ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. มหาวรรค 4. สรภสูตร

เมื่อปริพาชกเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่ง
คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทราบว่าสรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้ จึงได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าปฏิญญาตนอยู่ ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้น
ในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียง
ตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ 3 อย่าง คือ (1) พูดกลบ
เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (2) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (3) นิ่งเงียบ
เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “อาสวะเหล่านี้ของท่านผู้
ปฏิญญาตนว่าเป็นพระขีณาสพยังไม่สิ้นไปเลย เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นใน
ธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตาม
หลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ 3 อย่าง คือ (1) พูดกลบ
เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (2) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (3) นิ่งเงียบ
เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านแสดงธรรมเพื่อ
ประโยชน์ใด ธรรมที่ท่านแสดงนั้นไม่อำนวยประโยชน์นั้นเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล”
เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึง
ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ 3 อย่าง คือ (1) พูดกลบเกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง
(2) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และอาการไม่พอใจ (3) นิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันลือสีหนาท 3 ครั้ง ณ อารามปริพาชก
ที่ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกาแล้วทรงเหาะหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :254 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 5. เกสปุตติสูตร

ต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ปริพาชกพากันใช้ปฏักคือ
วาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบด้านว่า “ท่านสรภะ สุนัขจิ้งจอกแก่ในป่าใหญ่คิดว่า
จักร้องเหมือนเสียงราชสีห์ แต่ก็ร้องเป็นสุนัขจิ้งจอกอยู่นั่นเอง ร้องไม่ต่างจากสุนัข
จิ้งจอกเลยแม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ‘นอกจากพระ
สมณโคดมแล้ว เราก็บันลือสีหนาทได้’ กลับบันลือได้เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ บันลือไม่
ต่างจากสุนัขจิ้งจอกเลย ท่านสรภะ ลูกไก่ตัวเมียคิดว่าจักขันให้ได้เหมือนพ่อไก่ กลับ
ขันได้อย่างลูกไก่ตัวเมียเท่านั้น แม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน
คิดว่า ‘นอกจากพระสมณโคดมแล้ว เราก็จักขันเหมือนพ่อไก่ได้’ กลับขันได้เหมือน
ลูกไก่ตัวเมีย ท่านสรภะ โคผู้เข้าใจว่าตนร้องได้อย่างลึกซึ้งในโรงโคที่ว่าง แม้ฉันใด ท่าน
สรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าใจว่าตนร้องได้อย่างลึกซึ้ง”
ครั้งนั้น ปริพาชกเหล่านั้นพากันใช้ปฏักคือวาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบด้าน

สรภสูตรที่ 4 จบ

5. เกสปุตติสูตร
ว่าด้วยกาลามะ1ชาวเกสปุตตนิคม

[66] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของพวกกาลามะชื่อว่าเกสปุตตนิคม
พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมได้ทราบว่า “ข่าวว่า ท่านพระสมณโคดมศากย
บุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูลเสด็จถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับแล้ว ท่านพระ
สมณโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น