เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 1. ติตถายตนสูตร

ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
(4) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ 4 ประการนี้’ ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง
ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ 6 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ธาตุ 6 ประการนี้ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)
อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) อากาสธาตุ(ธาตุอากาศ)
วิญญาณธาตุ(ธาตุวิญญาณ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า
“ธาตุ 6 ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ 6 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ผัสสายตนะ 6 ประการนี้ คือ จักขุ(ตา)
โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กาย(กาย) มโน(ใจ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าว
ไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ 6 ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว
หมอง ไม่ถูกตำหนิ สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร 18 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะบุคคลเห็นรูปด้วยตาแล้วย่อมเข้าไปไตร่
ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา บุคคลฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วย
จมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงว่า “มโนปวิจาร 18 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :241 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 1. ติตถายตนสูตร

อนึ่ง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ 4 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะถือมั่นธาตุ 6 ประการ สัตว์จึงก้าวลง
สู่ครรภ์ เมื่อมีการก้าวลงสู่ครรภ์ นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ก็เรา
บัญญัติไว้ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ และนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
แก่บุคคลผู้เสวยอารมณ์อยู่
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ แม้ชาติ(ความเกิด)ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา(ความแก่)ก็เป็นทุกข์ แม้มรณะ(ความ
ตาย)ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ(ความโศก) แม้ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์
กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับแค้นใจ)ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับ
สิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นอย่างไร

คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงมี

กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย-
อริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :242 }