เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 1. ติตถายตนสูตร

บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริง
หรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข
ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย” ถ้าท่านเหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น
เพราะไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ท่านทั้งหลายจักเป็นคนฆ่าสัตว์ ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือความไม่มีเหตุโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มีความ
พอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ
และอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะที่ชอบธรรม เป็นของ
เฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ 3
สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ (3)
ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า 3 ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถาม
ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบ ๆ กันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ
ส่วนธรรมที่เราแสดงไว้นี้ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
ธรรมที่เราแสดงไว้ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เป็นอย่างไร
คือ (1) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ 6 ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว
หมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (2) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า
“ผัสสายตนะ 6 ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (3) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร1 18 ประการนี้”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 1. ติตถายตนสูตร

ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
(4) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ 4 ประการนี้’ ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง
ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ 6 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ธาตุ 6 ประการนี้ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)
อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) อากาสธาตุ(ธาตุอากาศ)
วิญญาณธาตุ(ธาตุวิญญาณ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า
“ธาตุ 6 ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ 6 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ผัสสายตนะ 6 ประการนี้ คือ จักขุ(ตา)
โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กาย(กาย) มโน(ใจ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าว
ไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ 6 ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว
หมอง ไม่ถูกตำหนิ สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร 18 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะบุคคลเห็นรูปด้วยตาแล้วย่อมเข้าไปไตร่
ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา บุคคลฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วย
จมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงว่า “มโนปวิจาร 18 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :241 }