เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 1. ติตถายตนสูตร

ว่า “ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีกรรมที่ทำไว้ในปาง
ก่อนเป็นเหตุ” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้ยอมรับว่า “จริง” เรา
จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ
ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีจิต
พยาบาท และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มี
ความพอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้
กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังมากล่าวนี้ สมณวาทะที่เป็นธรรม เป็น
ของเฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็น
วาทะที่ 1 สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ (1)
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น
เพราะการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ ท่านทั้งหลายก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์
ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่โดยความเป็น
แก่นสารย่อมไม่มีความพอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควร
ทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะ
ที่ชอบธรรม เป็นของเฉพาะตัว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่อง
ป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ 2 สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์
เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :239 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 1. ติตถายตนสูตร

บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริง
หรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข
ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย” ถ้าท่านเหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น
เพราะไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ท่านทั้งหลายจักเป็นคนฆ่าสัตว์ ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือความไม่มีเหตุโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มีความ
พอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ
และอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะที่ชอบธรรม เป็นของ
เฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ 3
สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ (3)
ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า 3 ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถาม
ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบ ๆ กันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ
ส่วนธรรมที่เราแสดงไว้นี้ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
ธรรมที่เราแสดงไว้ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เป็นอย่างไร
คือ (1) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ 6 ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว
หมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (2) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า
“ผัสสายตนะ 6 ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (3) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร1 18 ประการนี้”