เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 10. สังคารวสูตร

ได้มีจำนวนมากกว่า ทุกวันนี้ ภิกษุธรรมดามีจำนวนมากกว่า ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริ-
มนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มีจำนวนน้อยกว่า’ ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้
พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมดังนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ปาฏิหาริย์(การทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้)
3 อย่างนี้
ปาฏิหาริย์ 3 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี)
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นและดำลง
ในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดยเครื่องหมายว่า “ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หาก
เธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย แต่พอได้
ฟังมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้1ก็มี
ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจ
หลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 10. สังคารวสูตร

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง
เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของ
บุคคลผู้ตรึกตรองแล้ว ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง
คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง
เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ ถึงได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคล
ผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิ ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่องชื่อโน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้ง
มโนสังขาร” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้
ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรม
นี้อยู่” นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์
พราหมณ์ ปาฏิหาริย์ 3 อย่างนี้แล บรรดาปาฏิหาริย์ 3 อย่างนี้ท่านชอบใจ
ปาฏิหาริย์ไหน ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ 3
อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ
แผ่อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้คือปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์
นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนกับ
ภาพมายา
ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดย
อาศัยเครื่องหมายว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :235 }