เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 10. สังคารวสูตร

เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้
ปุญปฏิปทาคือปัพพชชาธิกรณ์นี้ย่อมเกิดแก่หลายสรีระ”
เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามสังคารว-
พราหมณ์ว่า “บรรดาปฏิปทา 2 อย่างนี้ ท่านชอบใจปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้
อุปกรณ์น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า”
เมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้กล่าวกับท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่าน
ทั้ง 2 นี้เราบูชาแล้ว ท่านทั้ง 2 นี้เราสรรเสริญแล้ว”
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสังคารวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เรา
ไม่ได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านบูชาใครหรือว่าท่านสรรเสริญใคร แต่เราถามท่าน
อย่างนี้ว่า บรรดาปฏิปทา 2 อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์
น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า”
แม้ครั้งที่ 3 สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
พระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่านทั้ง 2 นี้เราบูชาแล้ว ท่าน
ทั้ง 2 นี้เราสรรเสริญแล้ว”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “สังคารวพราหมณ์ถูกอานนท์ถาม
ปัญหาที่ชอบธรรม ก็นิ่งเสีย ไม่ตอบถึง 3 ครั้ง ทางที่ดี เราควรช่วยเหลือ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสังคารวพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ วันนี้
พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่าอย่างไร”
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้พวกราชบุรุษนั่ง
ประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ‘ทราบมาว่า ในกาลก่อน
ภิกษุธรรมดามีจำนวนน้อย ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริมนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์1


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 10. สังคารวสูตร

ได้มีจำนวนมากกว่า ทุกวันนี้ ภิกษุธรรมดามีจำนวนมากกว่า ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริ-
มนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มีจำนวนน้อยกว่า’ ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้
พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมดังนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ปาฏิหาริย์(การทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้)
3 อย่างนี้
ปาฏิหาริย์ 3 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี)
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นและดำลง
ในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดยเครื่องหมายว่า “ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หาก
เธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย แต่พอได้
ฟังมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้1ก็มี
ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจ
หลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น