เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 8. ติกัณณสูตร

วิชชา1 ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่ผู้สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขา หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้
ทำตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เธอ
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิด
ไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
เธอได้บรรลุวิชชาที่ 2 นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือ
วิชชา2 ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์)
นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)”
“นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย(เหตุเกิดอาสวะ) นี้อาสวนิโรธ(ความดับอาสวะ) นี้อาสว-
นิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ)” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 8. ติกัณณสูตร

หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว1 ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป2” ได้บรรลุวิชชาที่ 3 นี้ ความ
มืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชา3 ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบ
เหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
จิตของพระโคดมพระองค์ใด
ผู้มีศีลไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ
มีปัญญาและมีความเพ่งพินิจ
เป็นจิตมีความชำนาญแน่วแน่ เป็นสมาธิดี
พระโคดมพระองค์นั้น
บัณฑิตกล่าวว่าบรรเทาความมืดได้
เป็นนักปราชญ์ ได้วิชชา 3 ละทิ้งมัจจุราช
เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ ละบาปธรรมได้ทุกอย่าง
สาวกทั้งหลายย่อมนมัสการพระโคดมพระองค์นั้น
ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา 3 ไม่ลุ่มหลง
เป็นพระพุทธเจ้ามีสรีระเป็นชาติสุดท้าย
บุคคลใดรู้แจ้งปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์
และอบาย บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด เป็นมุนี
อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา 3
โดยวิชชา 3 นี้ เราเรียกบุคคลนั้นว่าได้วิชชา 3
ไม่เรียกบุคคลอื่นว่าได้วิชชา 3 ตามที่ผู้อื่นเรียกกัน
พราหมณ์ ผู้ได้วิชชา 3 ในอริยวินัยเป็นอย่างนี้แล