เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 5. นิพพุตสูตร

พราหมณ์ปริพาชกนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ปริพพาชกสูตรที่ 4 จบ

5. นิพพุตสูตร
ว่าด้วยพระนิพพาน

[56] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์ซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง” ข้าแต่ท่านพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรหนอ พระนิพพานจึงชื่อว่าเป็น
สภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มี
จิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียด
เบียนทั้ง 2 ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
2 ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่าย ไม่
เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล
ในกาลใด บุคคลนี้เสวยธรรมเป็นที่สิ้นราคะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็น
ที่สิ้นโทสะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโมหะอันไม่มีส่วนเหลือ ในกาลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :219 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 6. ปโลกสูตร

พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วย
กาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ชานุสโสณิพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นิพพุตสูตรที่ 5 จบ

6. ปโลกสูตร
ว่าด้วยเหตุทำให้จำนวนมนุษย์มีน้อยลง

[57] ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ฯลฯ พราหมณ์มหาศาลนั้นนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พราหมณ์ผู้เป็นบรรพบุรุษ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นอาจารย์ของอาจารย์ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ทราบมาว่า ใน
กาลก่อน โลกนี้หนาแน่นไปด้วยมนุษย์เหมือนอเวจีมหานรก หมู่บ้าน ตำบล ชนบท
และเมืองหลวง มีทุกระยะไก่บินตก ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบล
ก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดี
ที่ไม่ชอบธรรม1 ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ2ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด3
มนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ
ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด ต่างหยิบฉวยศัสตราวุธอันคมเข่นฆ่ากันและกัน