เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 4. ปริพพาชกสูตร

ทางใจบ้าง เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระ
ธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เสวยทุกข-
โทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิด
เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เป็นอย่างนี้แล
พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อัญญตรพราหมณสูตรที่ 3 จบ

4. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกผู้ทูลถามธรรมคุณ

[55] ครั้งนั้น พราหมณ์ปริพาชกคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ พราหมณ์ปริพาชกนั้นซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง” ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิต
ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :217 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 4. ปริพพาชกสูตร

เบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขา
ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง
เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
และประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
2 ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่าย ไม่
เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เมื่อ
ละโมหะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และ
ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :218 }