เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 2. ทุติยเทวพราหมณสูตร

ความสำรวมทางกาย วาจาและใจในโลกนี้
ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว
ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่

ปฐมเทวพราหมณสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ 2 คน สูตรที่ 2

[53] ครั้งนั้นพราหมณ์ 2 คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย
นับแต่เกิดมามีอายุ 120 ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล
ผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ 120 ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศล
ไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวกข้าพเจ้า ขอ
ท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกข้าพเจ้า
ตลอดกาลนาน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ 120 ปี พวกท่านนั้น ไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา พยาธิ และมรณะ
แผดเผาแล้ว เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะแผดเผาแล้วอย่างนี้ ความสำรวม
ทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก
และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว
เมื่อเรือนถูกไฟไหม้
สิ่งของที่นำออกไปได้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา
สิ่งของที่ถูกไฟไหม้ในเรือนนั้น
ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :215 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 3. อัญญตรพราหมณสูตร

เมื่อโลกถูกชราและมรณะแผดเผาแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลควรนำออกมาด้วยการให้
สิ่งที่ให้แล้วชื่อว่านำออกไปดีแล้ว
ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้
ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว
ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่

ทุติยเทวพราหมณสูตรที่ 2 จบ

3. อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ทูลถามธรรมคุณ

[54] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัย ฯลฯ พราหมณ์นั้นซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง” ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ
มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียด เบียน
ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :216 }