เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค 11. มหาโจรสูตร

มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำหรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจร
อาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยป่ารกด้วยหญ้าบ้าง ป่ารกด้วยต้นไม้บ้าง ป่าที่มี
แนวป้องกันบ้าง แนวป่าใหญ่บ้าง มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เขาคิด
อย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
เหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครกล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเขา มหาโจรอาศัยผู้
มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรประกอบด้วยองค์ 3 เป็นประการนี้แล ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการ
ปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง ฉันใด
ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น
อันมาก
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้
1. อาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา 2. อาศัยกรรมที่เร้นลับ
3. อาศัยผู้มีอิทธิพล
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ไม่ตรง
ไปตรงมา ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :212 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ1 ภิกษุ
ชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ภิกษุ
นั้นคิดอย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระ
ราชาเหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุชั่วอาศัยผู้
มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูก
ทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

มหาโจรสูตรที่ 11 จบ
จูฬวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สัมมุขีภาวสูตร 2. ติฐานสูตร
3. อัตถวสสูตร 4. กถาปวัตติสูตร
5. ปัณฑิตสูตร 6. สีลวันตสูตร
7. สังขตลักขณสูตร 8. อสังขตลักขณสูตร
9. ปัพพตราชสูตร 10. อาตัปปกรณียสูตร
11. มหาโจรสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์