เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต 12. อนาปัตติวรรค

[141-149] ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า “เป็นธรรม” ฯลฯ แสดงสิ่งที่มิใช่วินัย
ว่า “มิใช่วินัย” ฯลฯ แสดงวินัยว่า “เป็นวินัย” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงกรรมที่ตถาคต
ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงกรรมที่
ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติ
ไว้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่
คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อม
ประสพบุญเป็นอันมาก และดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (10)

อธัมมวรรคที่ 11 จบ

12. อนาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยอาบัติและอนาบัติ

[150-159] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่
เป็นอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติ
เบาว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง
อาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็น
อาบัติชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ”1 ฯลฯ
แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืน
ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำ
คืนได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (10)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต 13. เอกปุคคลวรรค

[160] ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และ
ดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (11)
[161] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง
สัทธรรมนี้ไว้ได้ (12)
[162-169] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติเบาว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง
อาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติชั่วหยาบ”
ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วน
เหลือว่า “เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็น
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนได้” ฯลฯ
แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง
สัทธรรมนี้ไว้ได้ (20)

อนาปัตติวรรคที่ 12 จบ

13. เอกปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก

[170] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นใน
โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาว
โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็น
เอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิด
ขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :22 }