เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค 9. ปัพพตราชสูตร

สังเขตลักษณะแห่งสังขตธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเกิดขึ้นปรากฏ 2. ความดับสลายปรากฏ
3. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร1ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม 3 ประการนี้แล

สังขตลักขณสูตรที่ 7 จบ

8. อสังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

[48] ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม(ลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งแห่งธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) 3 ประการนี้
อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ
2. ความดับสลายไม่ปรากฏ
3. เมื่อตั้งอยู่ ความแปรไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม 3 ประการนี้แล

อสังขตลักขณสูตรที่ 8 จบ

9. ปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์

[49] ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงามด้วยความ
เจริญ 3 ประการ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค 9. ปัพพตราชสูตร

ความเจริญ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กิ่ง ใบแก่ และใบอ่อน 2. เปลือกและสะเก็ด
3. กระพี้และแก่น
ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ 3 ประการนี้
ฉันใด
ชนภายในอาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธาย่อมงอกงามด้วยความเจริญ 3 ประการ
ฉันนั้นเหมือนกัน
ความเจริญ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ศรัทธา 2. ศีล 3. ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธาย่อมงอกงามด้วยความเจริญ
3 ประการนี้
ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่
หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น
เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด
บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์ หมู่ญาติ
และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมงอกงามในโลกนี้
ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล
จาคะ(ความเสียสละ) และสุจริต(ความประพฤติดี)
ของพ่อบ้านผู้มีศีลนั้นแล้วย่อมทำตาม
บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ
ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา
ย่อมบันเทิงในเทวโลก

ปัพพตราชสูตรที่ 9 จบ