เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค 5. ปัณฑิตสูตร

4. กถาปวัตติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้การสนทนาดำเนินไปได้

[44] ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ1 3 ประการ
ฐานะ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้แสดงธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
2. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
3. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง 2 ฝ่ายรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ 3 ประการนี้แล

กถาปวัตติสูตรที่ 4 จบ

5. ปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยกรรมที่บัณฑิตบัญญัติไว้

[45] ภิกษุทั้งหลาย กรรม 3 ประการนี้บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
กรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทาน(การให้) 2. ปัพพัชชา(การถือบวช)
3. มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
กรรม 3 ประการนี้แลบัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
ทาน อหิงสา(ความไม่เบียดเบียน)
สัญญมะ(ความสำรวม) ทมะ(การฝึกฝน)
มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
เป็นสิ่งที่สัตบุรุษบัญญัติไว้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค 7. สังขตลักขณสูตร

คุณธรรมเหล่านี้เป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ
เป็นพรหมจารีบุคคลซึ่งบัณฑิตควรเสพ
บัณฑิตนั้นเป็นอริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์1
เข้าถึงโลกอันเกษม2ได้

ปัณฑิตสูตรที่ 5 จบ

6. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยบรรพชิตผู้มีศีล

[46] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่
มนุษย์ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ3 3 ประการ
ฐานะ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กาย 2. วาจา 3. ใจ
ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ มนุษย์
ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้นย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ 3 ประการนี้แล

สีลวันตสูตรที่ 6 จบ

7. สังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

[47] ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม(ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
แห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) 3 ประการนี้