เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค 3. อัตถวสสูตร

1. เป็นผู้ปรารถนาที่จะเห็นท่านผู้มีศีล
2. เป็นผู้ปรารถนาที่จะฟังสัทธรรม
3. เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มี
ฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่
ครองเรือน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ 3 ประการนี้แล
บุคคลผู้ปรารถนาจะเห็นท่านผู้มีศีล
ปรารถนาจะฟังสัทธรรม
กำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทิน
บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้มีศรัทธา

ติฐานสูตรที่ 2 จบ

3. อัตถวสสูตร
ว่าด้วยอำนาจประโยชน์

[43] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ 3 ประการ
จึงควรแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น
อำนาจประโยชน์ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้แสดงธรรม1รู้แจ้งอรรถ2และรู้แจ้งธรรม3
2. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
3. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง 2 ฝ่าย รู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ 3 ประการนี้แลจึงควร
แสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น

อัตถวสสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค 5. ปัณฑิตสูตร

4. กถาปวัตติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้การสนทนาดำเนินไปได้

[44] ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ1 3 ประการ
ฐานะ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้แสดงธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
2. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
3. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง 2 ฝ่ายรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ 3 ประการนี้แล

กถาปวัตติสูตรที่ 4 จบ

5. ปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยกรรมที่บัณฑิตบัญญัติไว้

[45] ภิกษุทั้งหลาย กรรม 3 ประการนี้บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
กรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทาน(การให้) 2. ปัพพัชชา(การถือบวช)
3. มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
กรรม 3 ประการนี้แลบัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
ทาน อหิงสา(ความไม่เบียดเบียน)
สัญญมะ(ความสำรวม) ทมะ(การฝึกฝน)
มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
เป็นสิ่งที่สัตบุรุษบัญญัติไว้