เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. เทวทูตวรรค 4. นิทานสูตร

เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในอุทยปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า
เรากล่าวอัญญาวิโมกข์1 ซึ่งเป็นธรรม
สำหรับละธรรมทั้งสองคือกามสัญญา2และโทมนัส
เป็นธรรมบรรเทาถีนะ(ความง่วง)
เป็นธรรมปิดกั้นกุกกุจจะ(ความร้อนใจ)
ซึ่งบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาและสติ
มีการตรึกตรองธรรม3 เป็นธรรมเกิดก่อน
และเป็นธรรมเครื่องทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)

สารีปุตตสูตรที่ 3 จบ

4. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม

[34] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. โลภะ (ความอยากได้) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
3. โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด4
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. เทวทูตวรรค 4. นิทานสูตร

กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
เปรียบเหมือน เมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ
มีแก่นใน ถูกเก็บไว้อย่างดี ถูกหว่านลงบนพื้นดินที่เตรียมไว้ดี ในนาดี และฝนก็ตกดี
เมล็ดพืชที่ฝนตกรดอย่างนั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ แม้ฉันใด
กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรม
นั้นในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดจากโมหะ มีโมหะ
เป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวย
ผลกรรมนั้น ในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการนี้แล
เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. อโลภะ (ความไม่โลภ) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
3. อโมหะ (ความไม่หลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดน
เกิด เมื่อสิ้นโลภะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นแดน
เกิด เมื่อสิ้นโทสะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :187 }