เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 10. อวกุชชสูตร

ที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมขังอยู่ไม่ไหลราดไป แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่ง
ตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยัง
จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญากว้างขวาง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
เป็นคนเขลา ไม่มีปัญญาสำหรับพิจารณา
บุคคลเช่นนั้นแม้จะหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ก็ไม่อาจเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถาได้
เพราะเขาไม่มีปัญญา
บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
บุคคลเช่นนั้นแม้หมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา
ครั้นลุกขึ้นแล้วก็กำหนดรู้พยัญชนะไม่ได้
เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้วเลอะเลือนไป
ส่วนบุคคลมีปัญญากว้างขวาง
เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลเช่นนั้นหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้น
จำพยัญชนะได้ มีความดำริประเสริฐ
มีจิตใจไม่วอกแวก ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

อวกุชชสูตรที่ 10 จบ
ปุคคลวรรคที่ 3 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. เทวทูตวรรค 1. สพรหมกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สวิฏฐสูตร 2. คิลานสูตร
3. สังขารสูตร 4. พหุการสูตร
5. วชิรูปมสูตร 6. เสวิตัพพสูตร
7. ชิคุจฉิตัพพสูตร 8. คูถภาณีสูตร
9. อันธสูตร 10. อวกุชชสูตร

4. เทวทูตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวทูต
1. สพรหมกสูตร
ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม

[31] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดา
ในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีพรหม บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุล
นั้นชื่อว่ามีบุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี
อาหุไนยบุคคล
คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของบิดามารดา คำว่า บุรพาจารย์ นี้เป็นชื่อของ
บิดามารดา คำว่า อาหุไนยบุคคล นี้เป็นชื่อของบิดามารดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบิดามารดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร
บิดามารดาผู้อนุเคราะห์ประชา
ท่านเรียกว่า พรหม บุรพาจารย์
และอาหุไนยบุคคลของบุตร
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ
และสักการะบิดามารดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า
เพราะการปรนนิบัติบิดามารดานั้น
บัณฑิตจึงสรรเสริญในโลกนี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์

สพรหมกสูตรที่ 1 จบ