เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
1. พาลวรรค 3. จินตีสูตร

บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
2. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
3. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม 3 ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม 3 ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจัก
ถือปฏิบัติธรรม 3 ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

ลักขณสูตรที่ 2 จบ

3. จินตีสูตร
ว่าด้วยความคิดระหว่างคนพาลกับบัณฑิต

[3] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความ
ประพฤติไม่ขาดสายแห่งคนพาล 3 ประการนี้
ลักษณะแห่งคนพาล 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
คนพาลในโลกนี้
1. ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว1 2. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว2
3. ชอบทำแต่กรรมชั่ว3


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
1. พาลวรรค 3. จินตีสูตร

ถ้าคนพาลไม่ชอบคิดเรื่องชั่ว ไม่ชอบพูดเรื่องชั่ว ไม่ชอบทำกรรมชั่วเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี” แต่เพราะ
คนพาลชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว และชอบทำแต่กรรมชั่ว ฉะนั้นบัณฑิต
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี”
ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
คนพาล 3 ประการนี้แล
ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
บัณฑิต 3 ประการนี้
ลักษณะแห่งบัณฑิต 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
บัณฑิตในโลกนี้
1. ชอบคิดแต่เรื่องดี 2. ชอบพูดแต่เรื่องดี
3. ชอบทำแต่กรรมดี
ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี” แต่เพราะ
บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้นบัณฑิต
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี”
ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
บัณฑิต 3 ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม 3 ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม 3 ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม 3 ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

จินตีสูตรที่ 3 จบ