เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. พาลวรรค 1. ภยสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
_________________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. ปฐมปัณณาสก์
1. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
1. ภยสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นภัยและไม่เป็นภัย

[1] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภัย1ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต
อุปัททวะ2ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรค3ที่
เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
1. พาลวรรค 2. ลักขสูตร

ภัยที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปัททวะที่เกิด
ขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วน
เกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต เปรียบเหมือนไฟที่ลุกลามจากเรือนไม้อ้อหรือ
เรือนหญ้า ไหม้แม้เรือนยอดที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มีบาน
ประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น
คนพาลมีภัย บัณฑิตไม่มีภัย คนพาลมีอุปัททวะ บัณฑิตไม่มีอุปัททวะ คน
พาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ภัยไม่มีจากบัณฑิต อุปัททวะไม่มีจากบัณฑิต
อุปสรรคไม่มีจากบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม 3 ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม 3 ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม 3 ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

ภยสูตรที่ 1 จบ

2. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะคนพาลและบัณฑิต

[2] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่อง
กำหนด ปัญญาเมื่อใช้เป็นประจำจึงงดงาม1 บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
พึงทราบว่า เป็นคนพาล
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
2. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
3. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล