เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 1. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระ1ก็ไม่ควร
ว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะ2ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ3ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา
ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่า
กล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าว
เรา เราจะพูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตาม
คำแนะนำของเขา หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา
ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ
พูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำแนะนำ
ของเขา”
แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ถึงพระเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ
ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ
ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนา
สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน
แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หาก
พระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่
เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้
เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน”
การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล
การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 1. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ควรว่า
กล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็
ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา
ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ
พูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของ
ท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนา
สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า
‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของท่าน”
แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ถึงพระเถระก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควร
ว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหาก
พระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่
เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่
ก็จะทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะ
จะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่า
กล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำ
ตามคำสอนของท่าน”
การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล (11)

เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ

[64] ในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบกันด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ความมี
ใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบระงับภายใน ในอธิกรณ์นั้นจะมีผล
ตามมาดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความ
ร้ายแรง1 และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก