เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 4. ฉันนวรรค 10. ทุติยทวยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่พึงกำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่
ไม่พึงกำหนดหมายในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายเพราะ
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และ
อายตนะเท่าที่มีอยู่นั้นของเรา’
บุคคลผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็
ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยเอชาสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ 1

[92] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมคู่กันแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าธรรมคู่กัน
คือ (1) จักขุกับรูป (2) โสตะกับสัททะ (3) ฆานะกับคันธะ (4) ชิวหากับรส
(5) กายกับโผฏฐัพพะ (6) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เรียกว่าธรรมคู่กัน
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกธรรมคู่กันนั้น
แล้วบัญญัติธรรมคู่กันอย่างอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น
ครั้นถูกถามเข้าก็คงตอบไม่ได้ และพึงถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย”

ปฐมทวยสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ 2

[93] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันวิญญาณจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :94 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 4. ฉันนวรรค 10. ทุติยทวยสูตร

เพราะอาศัยธรรมคู่กัน วิญญาณจึงเกิดขึ้น อย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น จักขุไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม 3 ประการนี้
เรียกว่าจักขุสัมผัส แม้จักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูกผัสสะ
กระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้น ชิวหาไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็
ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม 3 ประการนี้
เรียกว่าชิวหาสัมผัส แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น ก็ชิวหาสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :95 }