เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 4. ฉันนวรรค 8. ทุติยเอชาสูตร

8. ทุติยเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ 2

[91] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ
หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’
เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรูป ฯลฯ
จักขุวิญญาณ ฯลฯ
จักขุสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :92 }