เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 4. ฉันนวรรค 4. ฉันนสูตร

สัปปายะของกระผมมีอยู่ พวกอุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมไม่ใช่ไม่มี พวก
อุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมมีอยู่ อีกประการหนึ่ง กระผมก็ปรนนิบัติพระ
ศาสดาด้วยความเต็มใจมาตลอดทีเดียว ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ ขอ
ท่านสารีบุตรจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘ข้อที่พระสาวกปรนนิบัติพระศาสดา
ด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ นี้เป็นการสมควรแก่พระสาวก
ฉันนภิกษุจักนำศัตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”
“พวกเราขอถามปัญหาบางข้อกับท่านฉันนะ ถ้าท่านฉันนะจะให้โอกาสตอบ
ปัญหา”
“ท่านสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด ผมฟังแล้วจักบอกให้รู้”
“ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่าน
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านพิจารณาเห็นมโน
มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ กระผมพิจารณาเห็นมโน
มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในจักขุ ในจักขุวิญญาณ และใน
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณจึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึง
รู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ฯลฯ ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณจึงพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :82 }