เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 1. อนิจจวรรค 10. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร

โสตะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
ฆานะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น
อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น
ปัจจุบัน
กาย ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”

อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตรที่ 9 จบ

10. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง

[10] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงรูป
ที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต ไม่ยินดี
รูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็น
ปัจจุบัน
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่เป็น
ปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :8 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 1. อนิจจวรรค 12. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยธรรมารมณ์ที่
เป็นอดีต ไม่ยินดีธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน”

พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตรที่ 10 จบ

11. พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์

[11] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง
รูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
รูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ

พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตรที่ 11 จบ

12. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา

[12] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว
ถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์
ที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :9 }