เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 9. โลกปัญหาสูตร

รู้จักขุที่เป็นทุกข์นั้น รูป ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ มโนเป็นทุกข์ ฯลฯ
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลคือทุกข์ พวกเราประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

สัมพหุลภิกขุสูตรที่ 8 จบ

9. โลกปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องโลก

[82] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงตรัสว่า ‘โลก’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
ก็อะไรเล่าแตกสลาย
คือ จักขุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักขุวิญญาณแตกสลาย จักขุสัมผัสแตก
สลาย แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย ฯลฯ ชิวหาแตกสลาย ฯลฯ มโนแตกสลาย ฯลฯ
ธรรมารมณ์แตกสลาย ฯลฯ มโนวิญญาณแตกสลาย ฯลฯ มโนสัมผัสแตกสลาย
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย
ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย”

โลกปัญหาสูตรที่ 9 จบ