เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 2. มิคชาลวรรค 11. ตติยฉผัสสายตนสูตร

“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้จักขุที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ 1 นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้วเพื่อ
ไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป” ฯลฯ
“เธอพิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ชิวหาที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ 4 นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว
เพื่อไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป” ฯลฯ
“เธอพิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้มโนที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ 6 นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้วเพื่อ
ไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป”

ทุติยฉผัสสายตนสูตรที่ 10 จบ

11. ตติยฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ 6 ประการ สูตรที่ 3

[73] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ 6 ประการตามความเป็นจริง เธอประพฤติ
พรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :63 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 2. มิคชาลวรรค 11. ตติยฉผัสสายตนสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ 6 ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ฯลฯ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้น
แล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ตติยฉผัสสายตนสูตรที่ 11 จบ
มิคชาลวรรคที่ 2 จบ