เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 2. มิคชาลวรรค 8. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความคิดว่า ‘เราเป็นจักขุ’
หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหาเป็นของเรา’ ฯลฯ
‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กายของผู้นั้นเป็นอย่าง
อื่นหรือความที่อินทรีย์ของผู้นั้นแปรผันพึงมีอย่างแน่นอน กระผมไม่มีความนึกคิด
เลยว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหา
เป็นของเรา’ ... ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กาย
ของกระผมเป็นอย่างอื่นหรือความที่อินทรีย์ของกระผมแปรผัน จักมีได้อย่างไร”
จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ1 มมังการ2 และมานานุสัย (กิเลส
ที่นอนเนื่องคือความถือตัว) ได้เด็ดขาดนานมาแล้ว ฉะนั้นท่านพระอุปเสนะจึงไม่มี
ความคิดว่า “เราเป็นจักขุ” หรือ “จักขุเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นชิวหา” หรือ
“ชิวหาเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นมโน” หรือ “มโนเป็นของเรา”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้ยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้าง
นอก ขณะนั้น กายของท่านพระอุปเสนะก็เรี่ยรายในที่นั้นเองเหมือนกำแกลบ

อุปเสนอาสีวิสสูตรที่ 7 จบ

8. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะทูลถามธรรมที่พึงเห็นเอง

[70] ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ธรรมเป็นธรรมที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็น
ธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล3 ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 2. มิคชาลวรรค 8. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตา
แล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปใน
ภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุเห็นรูป
ทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูป
ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ
ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัดใน
รส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน
ภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัด
ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน
ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวย
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่
ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึง
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความ
กำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดใน
รูปในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวย
ความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัด
ในรูปในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :60 }