เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 2. มิคชาลวรรค 2. ทุติยมิคชาลสูตร

2. ทุติยมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ 2

[64] ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท1 มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน
ย่อมเกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรา
กล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ
เพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ”