เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 1.อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
รส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิด
ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ 10 จบ
อวิชชาวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อวิชชาปหานสูตร 2. สัญโญชนปหานสูตร
3. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร 4. อาสวปหานสูตร
5. อาสวสมุคฆาตสูตร 6. อนุสยปหานสูตร
7. อนุสยสมุคฆาตสูตร 8. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
9. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร 10. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 2. มิคชาลวรรค 1. ปฐมมิคชาลสูตร

2. มิคชาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระมิคชาละ
1. ปฐมมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ 1

[63] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘มีปกติอยู่ผู้เดียว มีปกติอยู่ผู้เดียว’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่ามีปกติ
อยู่ผู้เดียว อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงชื่อว่ามีปกติอยู่กับเพื่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน1
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มี
ความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า
‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มีความเกี่ยว
ข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มี
ปกติอยู่กับเพื่อน’ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถึงจะใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าโปร่ง