เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [10. อัพยากตสังยุต] 2. อนุราธสูตร

เวทนาทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของ
เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูปว่าเป็น
ตถาคตหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไมใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นสังขารว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีใน
รูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :476 }