เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [10. อัพยากตสังยุต] 1. เขมาสูตร

จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์’ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตร
ในเรื่องนี้บ้าง ขอพระองค์พึงตรัสตอบตามที่ทรงพอพระทัยเถิด พระองค์ทรงเข้า
พระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคน
ของพระองค์ผู้สามารถคำนวณเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาว่า ‘ทรายเท่านี้เม็ด ฯลฯ
หรือทรายเท่านี้ 100,000 เม็ด’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“อนึ่ง นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคนของพระองค์ผู้สามารถ
คำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำเท่านี้อาฬหกะ ฯลฯ หรือน้ำเท่านี้ 100,000
อาฬหกะ’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะมหาสมุทรลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก พระพุทธเจ้าข้า”
“เรื่องนี้ก็เหมือนกัน บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูป
นั้นตถาคต(เรา)ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต (เรา) พ้นแล้วจากการ
บัญญัติว่ารูป ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดีย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด ...
ด้วยสัญญาใด ...
ด้วยสังขารเหล่าใด ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :471 }