เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [9. อสังขตสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น
เราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอ
ทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็น
คำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

(พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)

ปรายนสูตรที่ 33 จบ
ทุติยวรรค จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อสังขตสูตร 2. อนตสูตร
3. อนาสวาทิสูตร 4. สัจจสูตร
5. ปารสูตร 6. นิปุณสูตร
7. สุทุททสสูตร 8. อชัชชรสูตร
9. ธุวสูตร 10. อปโลกินสูตร
11. อนิทัสสนสูตร 12. นิปปปัญจสูตร
13. สันตสูตร 14. อมตสูตร
15. ปณีตสูตร 16. สิวสูตร
17. เขมสูตร 18. ตัณหักขยสูตร
19. อัจฉริยสูตร 20. อัพภุตสูตร
21. อนีติกสูตร 22. อนีติกธัมมสูตร
23. นิพพานสูตร 24. อัพยาปัชฌสูตร
25. วิราคสูตร 26. สุทธิสูตร
27. มุตติสูตร 28. อนาลยสูตร
29. ทีปสูตร 30. เลณสูตร
31. ตาณสูตร 32. สรณสูตร
33. ปรายนสูตร

อสังขตสังยุต จบบริบูรณ์
สูตรที่ 7 ในอาสีวิสวรรคก็เหมือนกัน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [10. อัพยากตสังยุต] 1. เขมาสูตร

10. อัพยากตสังยุต
1. เขมาสูตร
ว่าด้วยเขมาภิกษุณี

[410] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น เขมาภิกษุณีเที่ยวจาริกไปในแคว้น
โกศล เข้าไปพักอยู่ที่โตรณวัตถุ (ค่ายเสาระเนียด) ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากเมืองสาเกตไปยังกรุงสาวัตถี ได้เข้าประทับ
แรมราตรีหนึ่งที่โตรณวัตถุระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต รับสั่งเรียกราชบุรุษ
คนหนึ่งมาตรัสถามดังนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปดูให้รู้ว่าที่โตรณวัตถุมีสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้ที่เราควรเข้าไปหาในวันนี้หรือไม่”
ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้วตรวจดูโตรณวัตถุ
จนทั่วก็ไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลควรเสด็จเข้าไปหา
ราชบุรุษนั้นได้พบเขมาภิกษุณีซึ่งเข้าไปพักอยู่ที่โตรณวัตถุ จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้า
ปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ที่โตรณวัตถุไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้ที่พระองค์ควรเสด็จเข้าไปหาเลย มีแต่ภิกษุณี
ชื่อว่าเขมา ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
และพระแม่เจ้ารูปนั้นมีกิตติศัพท์อันงามฟุ้งขจรไปอย่างนี้ว่า ‘พระแม่เจ้าเขมา
ภิกษุณีเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต1 พูดเพราะ มีปฏิภาณดี’
ขอกราบทูลเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาพระแม่เจ้ารูปนั้นเถิด”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามปัญหาเขมาภิกษุณี
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปหาเขมาภิกษุณีถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามดังนี้ว่า “พระแม่เจ้า หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือ”