เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 13. ปาฏลิยสูตร

เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
3. บุคคลผู้มีโมหะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เพราะโมหะเป็นเหตุ เมื่อละโมหะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ธรรม 3 ประการนี้ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อราสิยะได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ราสิยสูตรที่ 12 จบ

13. ปาฏลิยสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะ

[365] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวโกฬิยะชื่ออุตตระ
ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’
สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :430 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 13. ปาฏลิยสูตร

กล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะพวกข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระ
สมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย
คำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวที่ได้ยินมาจริงทีเดียว ข้าพระองค์ไม่เชื่อสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ แต่ได้ยินว่า ‘พระสมณโคดม
ทรงมีมารยา”
“ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใดกล่าวว่า ‘เรารู้จักมารยา’ ผู้นั้นก็เท่ากับกล่าวว่า ‘เรามี
มารยา”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นทีเดียว ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้น
เป็นอย่างนั้นทีเดียว”
“ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ท่านพึงตอบตามสมควร
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะหรือ”
“ข้าพระองค์รู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ
มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะมีไว้เพื่อประโยชน์ คือ
เพื่อป้องกันพวกโจรชาวโกฬิยะและเพื่อการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชาวโกฬิยะ”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกทหารผมยาวใน
นิคมของชาวโกฬิยะว่ามีศีลหรือทุศีล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะว่า ทุศีล
มีธรรมเลวทราม และพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่งในบรรดาผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทรามในโลก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :431 }