เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 9. กุลสูตร

ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินมีทองมาก มีเครื่องประดับมาก มีทรัพย์และข้าว
เปลือกมาก ทั้งหมดนั้นเกิดเพราะการให้ เกิดเพราะความมีสัจจะ และเกิดเพราะ
ความสำรวม
เหตุปัจจัยที่ทำให้ตระกูลคับแค้น 8 ประการ คือ
1. ตระกูลคับแค้นจากพระราชา
2. ตระกูลคับแค้นจากโจร
3. ตระกูลคับแค้นจากไฟ
4. ตระกูลคับแค้นจากน้ำ
5. ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนที่ไป
6. การงานที่ประกอบไม่ดี ทำให้ตระกูลวิบัติ
7. ทรัพย์ในตระกูลกลายเป็นถ่านเพลิง
8. การที่บุคคลใช้จ่ายโภคทรัพย์สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย ทำให้ตระกูล
เปลี่ยนแปลงไป
ผู้ใหญ่บ้าน เหตุปัจจัย 8 ประการนี้ที่ทำให้ตระกูลคับแค้น เมื่อเหตุปัจจัย 8
ประการนี้มีอยู่ บุคคลใดพึงกล่าวหาเราว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอน
ตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความเสื่อมแห่งตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความคับแค้นแห่ง
ตระกูล’ บุคคลนั้นไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กุลสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 10. มณิจูฬกสูตร

10. มณิจูฬกสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะ

[362] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัท
ภายในพระราชวัง ได้สนทนากันขึ้นว่า “ทองและเงินสมควรแก่สมณศากยบุตรหรือ
สมณศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ”
สมัยนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้นขณะนั้นได้กล่าวกับบริษัท
นั้นดังนี้ว่า “นายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร
สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้ว
มณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะสามารถให้บริษัทนั้นยินยอมได้
ต่อมา ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัทภายใน
พระราชวังนี้ได้สนทนากันขึ้นว่า ‘ทองและเงินควรแก่สมณศากยบุตรหรือ สมณ-
ศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’ เมื่อบริษัทนั้นกล่าว
อย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า ‘นายอย่าได้กล่าวอย่างนี้
ทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่
รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถให้บริษัทนั้นยินยอมได้ ข้าพระ
องค์เมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้าง
หรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อท่านตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :415 }