เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 5. สัพพอนิจจวรรค 1-9. อนิจจทิสุตตนวกะ

5. สัพพอนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
1-9. อนิจจาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร 9 สูตร มีอนิจจสูตรเป็นต้น

[43] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
(สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง
กายไม่เที่ยง ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :41 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 5. สัพพอนิจจวรรค 1-9. อนิจจทิสุตตนวกะ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
สูตรที่ 1 จบ
[44] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ
สูตรที่ 2 จบ
[45] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ
สูตรที่ 3 จบ
[46] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ฯลฯ
สูตรที่ 4 จบ
[47] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ 5 จบ
[48] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ฯลฯ
สูตรที่ 6 จบ
[49] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
สูตรที่ 7 จบ
[50] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ 8 จบ
[51] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกประทุษร้าย ฯลฯ
สูตรที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :42 }