เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 8. สังขธมสูตร

ศาสดานั้นกลับได้ทิฏฐิว่า ‘สัตว์ที่ถูกเราฆ่าก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’
เขาไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้
ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดานั้นกลับได้
ทิฏฐิว่า ‘ทรัพย์ที่เราเคยลักก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด
ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดา
นั้น กลับได้ทิฏฐิว่า ‘การที่เราประพฤติผิดในกามก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย
ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือน
ถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดานั้นกลับได้
ทิฏฐิว่า ‘คำเท็จที่เราพูดแล้วก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด
ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบ
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค
ตถาคตนั้น ตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า
‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์’ ตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดยประการ
ต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการลักทรัพย์’ ตำหนิ
ติเตียนการประพฤติผิดในกามโดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่าน
ทั้งหลายจงงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม’ ตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดยประการ
ต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการพูดเท็จ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :409 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 8. สังขธมสูตร

สาวกผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในศาสดานั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรง
ตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย
จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์’ อนึ่ง สัตว์ที่ถูกเราฆ่าก็มีอยู่มากมาย การที่เราฆ่าสัตว์
มากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการฆ่าสัตว์นั้น
เป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละ
การฆ่าสัตว์นั้นและเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ต่อไป
เธอละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดย
ประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการลักทรัพย์’
ทรัพย์ที่เราลักก็มีอยู่มากมาย การที่เราลักทรัพย์มากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย
เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการลักทรัพย์นั้นเป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำ
บาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละการลักทรัพย์นั้นและ
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ต่อไป
เธอละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการประพฤติผิด
ในกามโดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจาก
การประพฤติผิดในกาม’ การที่เราประพฤติผิดในกามก็มีอยู่มากมาย การที่เรา
ประพฤติผิดในกามมากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อน
เพราะการประพฤติผิดในกามนั้นเป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอ
พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละการประพฤติผิดในกามนั้นและเว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามต่อไป
เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดย
ประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงเว้นขาดจากการพูดเท็จ’
การที่เราพูดเท็จก็มีอยู่มากมาย การที่เราพูดเท็จมากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย
เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการพูดเท็จนั้นเป็นปัจจัย เราจักไม่ได้ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :410 }