เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 6. ทุติยกามภูสูตร

คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์
คำว่า กระแส เป็นชื่อของตัณหา ตัณหานั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ตัด
กระแส ราคะเป็นเครื่องผูก โทสะเป็นเครื่องผูก โมหะเป็นเครื่องผูก เครื่องผูก
เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุขีณาสพ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีเครื่องผูก
ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘เธอจงดูรถซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ
มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์
แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก’
กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างย่อนี้โดย
พิสดารอย่างนี้แล”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงใน
พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้”

ปฐมกามภูสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยกามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู สูตรที่ 2

[348] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระกามภูดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไร”
ท่านพระกามภูตอบว่า “คหบดี สังขารมี 3 ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :381 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 6. ทุติยกามภูสูตร

1. กายสังขาร1 2. วจีสังขาร2
3. จิตตสังขาร3”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระกามภู
แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
“ท่านผู้เจริญ กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร และจิตตสังขาร
เป็นอย่างไร”
“คหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกชื่อว่ากายสังขาร
วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร
สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร
เพราะเหตุไร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร
เพราะเหตุไร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร”
“คหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เกี่ยวเนื่อง
ด้วยกาย เพราะฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร”
“คหบดี บุคคลตรึกตรองก่อนแล้วจึงเปล่งวาจาภายหลัง เพราะฉะนั้น วิตก
วิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร