เมนู

พระสุตตันปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตวรรค [ 6. โมคคัลลานสังยุต]
3. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

2. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุติยฌาน

[333] “ที่เรียกกันว่า ‘ทุติยฌาน ทุติยฌาน’ ทุติยฌานเป็นอย่างไร ผม
นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น1 ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ทุติยฌาน’ ผมนั้นเพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยวิตกก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ทุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในทุติยฌาน’ ต่อมา เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ผมนั้นบรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระ
ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
ถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ทุติยัชฌานปัญหาสูตรที่ 2 จบ

3. ตติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตติยฌาน

[334] “ที่เรียกว่า ‘ตติยฌาน ตติยฌาน’ ตติยฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [6. โมคคัลลานสังยุต]
4. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร

‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เรียกว่า ‘ตติยฌาน’ เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้น
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการประกอบด้วยปีติก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในตติยฌาน’ ต่อมา เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้นมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ตติยัชฌานปัญหาสูตรที่ 3 จบ

4. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องจตุตถฌาน

[335] “ที่เรียกว่า ‘จตุตถฌาน จตุตถฌาน’ จตุตถฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่’ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการประกอบด้วยสุขก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
จตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในจตุตถฌาน จง
ตั้งจิตให้มั่นในจตุตถฌาน’ ต่อมา เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

จตุตถัชฌานปัญหาสูตรที่ 4 จบ