เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [4. ชัมพุขาทกสังยุต]
15. สักกายปัญหาสูตร

14. ทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุกข์

[327] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’
ทุกข์มีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ สภาวทุกข์มี 3 ประการนี้ คือ
1. สภาวทุกข์คือทุกข์ 2. สภาวทุกข์คือสังขาร
3. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป
สภาวทุกข์มี 3 อย่างเหล่านี้”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล เพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นดี
จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

ทุกขปัญหาสูตรที่ 14 จบ

15. สักกายปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสักกายะ

[328] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘สักกายะ
(กายของตน) สักกายะ’ สักกายะคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ 5 นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่า สักกายะ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :345 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [4. ชัมพุขาทกสังยุต]
16. ทุกกรปัญหาสูตร

1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
อุปาทานขันธ์ 5 นี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า สักกายะ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

สักกายปัญหาสูตรที่ 15 จบ

16. ทุกกรปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก

[329] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน
พระธรรมวินัยนี้”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้”
“อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“ความยินดียิ่ง บรรพชิตทำได้ยาก”
“อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :346 }