เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
3. อัฏฐสตปริยายวรรค 11. นิรามิสสูตร

ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส
สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้
พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า
สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิส
อุเบกขามีอามิส เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้ อุเบกขาที่อาศัยกามคุณ 5 ประการ
นี้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส
อุเบกขาไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิส
อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ อุเบกขาที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้
พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า
อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :311 }