เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
3. อัฏฐสตปริยายวรรค 2. อัฏฐสตสูตร

มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งหมดนั้น มีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ย่อมแล่นไปหา
สิ่งที่ตนเองรู้ และแล่นไปหาสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริง เพราะฉะนั้นเราจึง
กล่าวว่า ‘เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปริพาชกชื่อโมฬิยสีวกะได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ดี 1 เสลด 1 ลม 1 ดี เสลด และลม รวมกัน 1
ฤดู 1 การบริหารกายไม่สม่ำเสมอ 1 การถูกทำร้าย 1
รวมกับผลกรรมอีก 1 เป็น 8

สีวกสูตรที่ 1 จบ

2. อัฏฐสตสูตร
ว่าด้วยเวทนา 108 ประการ

[270] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง 108
ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง 108 ประการ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวเวทนา 2 ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 3 ประการ
ไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 5 ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 6
ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 18 ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว
เวทนา 36 ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 108 ประการไว้โดยบรรยาย
ก็มี
เวทนา 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เวทนาทางกาย 2. เวทนาทางใจ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา 2 ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :302 }