เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญ รู้ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่
กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า “จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้ ฯลฯ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
ทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดม
กล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธและบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข”
ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลาย
พึงค้านว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนา บัญญัติ
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะ
ใด ๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”

ภิกขุสูตรที่ 10 จบ
รโหคตวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. รโหคตสูตร 2. ปฐมอากาสสูตร
3. ทุติยอากาสสูตร 4. อคารสูตร
5. ปฐมอานันทสูตร 6. ทุติยอานันทสูตร
7. ปฐมสัมพหุลสูตร 8. ทุติยสัมพหุลสูตร
9. ปัญจกังคสูตร 10. ภิกขุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
3. อัฏฐสตปริยายวรรค 1. สีวกสูตร

3. อัฏฐสตปริยายวรรค
หมวดว่าด้วยบรรยาย 108 ประการ
1. สีวกสูตร
ว่าด้วยสีวกปริพาชก

[269] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อโมฬิยสีวกะ1เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง
นี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรือ
อทุกขมสุขทั้งหมดนั้นมีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ก็ในข้อนี้พระโคดมผู้เจริญตรัสไว้อย่างไร”
พระผู้พระภาคตรัสตอบว่า “สีวกะ เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น
ในกายนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในกายนี้ บุคคลพึงรู้ได้
เองนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในกายนี้ ชาวโลกสมมติ
ว่าเป็นความจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง
นี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์
หรืออทุกขมสุขทั้งหมดนั้นมีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ย่อมแล่นไปหาสิ่งที่ตนเองรู้
และแล่นไปหาสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริง เพราะฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า ‘เป็น
ความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น’
... มีเสลดเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ มีลมเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ มีดี เสลดและลม
รวมกันเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ เกิดจากการเปลี่ยนฤดู ฯลฯ เกิดจากการบริหารกาย
ไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ เกิดจากการถูกทำร้าย ฯลฯ เวทนาบางอย่างเกิดจาก
ผลกรรมเกิดขึ้นในกายนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดจากผลกรรมเกิดขึ้นใน
กายนี้บุคคลพึงรู้ได้เองก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดจากผลกรรมเกิดขึ้นในกายนี้
ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้