เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 3. สัพพวรรค 8. สมุคฆาตสารุปปสูตร

จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อันธภูตสูตรที่ 7 จบ

8. สมุคฆาตสารุปปสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย

[30] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความ
กำหนดหมาย1 ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่
กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่กำหนดหมายรูป ไม่กำหนดหมายในรูป ไม่กำหนดหมายเพราะรูป ไม่
กำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่กำหนด
หมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย