เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 10. ภิกขุสูตร

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เป็นไปได้หรือ
เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธ และบัญญัติสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข”
อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงค้านว่า
“ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนา บัญญัติสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะใด ๆ
พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”

ปัญจกังคสูตรที่ 9 จบ

10. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[268] “เรากล่าวเวทนา 2 ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 3
ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 5 ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว
เวทนา 6 ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 18 ประการไว้โดยบรรยาย
ก็มี กล่าวเวทนา 36 ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา 108 ประการไว้
โดยบรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญ ไม่รู้ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดี
แล้วแก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า “จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ๋

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :299 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญ รู้ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่
กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า “จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้ ฯลฯ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
ทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดม
กล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธและบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข”
ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลาย
พึงค้านว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนา บัญญัติ
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะ
ใด ๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”

ภิกขุสูตรที่ 10 จบ
รโหคตวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. รโหคตสูตร 2. ปฐมอากาสสูตร
3. ทุติยอากาสสูตร 4. อคารสูตร
5. ปฐมอานันทสูตร 6. ทุติยอานันทสูตร
7. ปฐมสัมพหุลสูตร 8. ทุติยสัมพหุลสูตร
9. ปัญจกังคสูตร 10. ภิกขุสูตร