เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 9. ทุติยสัมพหุลสูตร

สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง
เวทนา
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา
ต่อมา เรากล่าวความดับแห่งสังขารตามลำดับ คือ
1. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป ฯลฯ
10. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะ
ย่อมดับไป
ต่อมา เรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
1. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ
10. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ
ย่อมระงับไป
ภิกษุทั้งหลาย ปัสสัทธิ 6 ประการนี้ คือ
1. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ
2. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็สงบ
3. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็สงบ
4. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็สงบ
5. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ
6. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”

ปฐมสัมพหุลสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยสัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป สูตรที่ 2

[266] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :292 }