เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 3. สัพพวรรค 7. อันธภูตสูตร

7. อันธภูตสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของมืดมน

[29] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของมืดมน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของ
มืดมน
คือ จักขุเป็นของมืดมน รูปเป็นของมืดมน จักขุวิญญาณเป็นของมืดมน
จักขุสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรา
กล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นของมืดมน รสเป็นของมืดมน ชิวหาวิญญาณเป็นของมืดมน
ชิวหาสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร
เรากล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
กายเป็นของมืดมน ฯลฯ
มโนเป็นของมืดมน ธรรมารมณ์เป็นของมืดมน มโนวิญญาณเป็นของมืดมน
มโนสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรา
กล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :29 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 3. สัพพวรรค 8. สมุคฆาตสารุปปสูตร

จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อันธภูตสูตรที่ 7 จบ

8. สมุคฆาตสารุปปสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย

[30] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความ
กำหนดหมาย1 ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่
กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่กำหนดหมายรูป ไม่กำหนดหมายในรูป ไม่กำหนดหมายเพราะรูป ไม่
กำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่กำหนด
หมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย