เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด เพราะ
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด
เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิด
เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับคือสงบไป
เปรียบเวทนากับความร้อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้ 2 อันเสียดสีกัน จึงเกิดความร้อน ไฟลุกขึ้น เพราะ
แยกไม้ทั้งสองนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นจึงดับ ระงับไป
แม้ฉันใด เวทนา 3 ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล
มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น เวทนา
ที่เกิดแต่ผัสสะนั้นจึงเกิด เพราะผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้นดับ เวทนาที่เกิดแต่ผัสสะ
นั้นจึงดับ”

ผัสสมูลกสูตรที่ 10 จบ
สคาถวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สมาธิสูตร 2. สุขสูตร
3. ปหานสูตร 4. ปาตาลสูตร
5. ทัฏฐัพพสูตร 6. สัลลสูตร
7. ปฐมเคลัญญสูตร 8. ทุติยเคลัญญสูตร
9. อนิจจสูตร 10. ผัสสมูลกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 1. รโหคตสูตร

2. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด
1. รโหคตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด

[259] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
‘พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ 3 ประการ คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ 3 ประการนี้
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใด
อย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’
พระดำรัสที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เรากล่าวเวทนาไว้ 3 ประการนี้ คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
เรากล่าวเวทนาไว้ 3 ประการนี้
สมจริงดังคำที่เรากล่าวว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’
คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :284 }